ระบบขนถ่ายวัสดุอัตโนมัติ



การขนถ่ายวัสดุ (Material Handling) หมายถึง การจัดเตรียมสถานที่และตำแหน่งของวัสดุ โดยเป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ การบรรจุหีบห่อ การเก็บรักษา ซึ่งต้องอาศัยวิธีการในการเลือกเครื่องมือและอุปกรณ์ เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนย้ายวัตถุดิบเข้ามาในสายการผลิต ให้เหมาะสมกับลักษณะงานจนเป็นสินค้า หรือผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป


ประเภทของอุปกรณ์ขนถ่ายวัสดุพื้นฐานทั่วไป


          อุปกรณ์ขนถ่ายวัสดุที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาการออกแบบตามเทคโนโลยีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีความเหมาะสมกับการนำไปใช้งาน ดังนั้นอุปกรณ์ขนถ่ายวัสดุมีหลายประเภท ผู้เขียนขอยกตัวอย่างอุปกรณ์ขนถ่ายวัสดุพื้นฐานโดยทั่วไป มีดังนี้

  1. สายพานลำเลียง (Belt Conveyor)

          เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แรงขับจากมอเตอร์ไฟฟ้า เพื่อให้สายพานเคลื่อนตัวไปอย่างต่อเนื่อง โดยวัสดุที่ใช้ในการลำเลียงจะวางอยู่บนสายพาน หรือบนลูกกลิ้งที่ขับหมุนด้วยสายพานเคลื่อนที่ ในการเคลื่อนย้ายวัสดุจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ซึ่งเป็นไปได้ทั้งแบบต่อเนื่องและหยุดชะงัก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการควบคุมในการขนย้าย ได้ทั้งระยะสั้น ระยะยาว แนวระดับ แนวลาดเอียงขึ้น และลาดเอียงลง โดยสามารถเลือกปรับระดับความเร็วได้
  
          ดังนั้นระบบสายพานลำเลียง จึงเหมาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภท ที่ใช้ระบบสายพานลำเลียงในกระบวนการผลิต เช่น อุตสาหกรรมอาหารและยา อุตสาหกรรมผลิตอาหารกระป๋อง อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ และอุตสาหกรรมรถยนต์ เป็นต้น






          ส่วนประกอบของสายพานลำเลียง
  
          1. ยางผิวบน (Top Cover) มีหน้าที่รองรับวัสดุขนถ่ายและป้องกันการเสียหายของชั้นผ้าใบรับแรงและยังมีคุณสมบัติป้องกันแรงกระแทก ป้องกันการเจาะทะลุ ป้องกันน้ำมัน ป้องกันความร้อน โดยยางผิวบนมีหลายชนิดให้เลือกใช้งานขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของการใช้งาน
          2. ชั้นผ้าใบรับแรง (Carcass) มีหน้าที่เป็นแกนรับแรงดึงของสายพานทั้งเส้น และช่วยกระจายแรงดึงของสายพาน เมื่อทำการลำเลียงวัสดุอีกด้วย
          3. ชั้นยางประสานผ้าใบ (Skim Rubber) มีหน้าที่ประสานชั้นผ้าใบแต่ละชั้นเข้าด้วยกัน
          4. ยางผิวล่าง (Bottom Cover) มีหน้าที่ป้องกันชั้นผ้าใบรับแรงไม่ให้เสียหายจากการเสียดสีกับลูกกลิ้ง (Idler) และพูลเลย์ ดังนั้นความหนาของยางผิวล่างจึงไม่จำเป็นต้องหนาเท่ากับยางผิวบน เพราะไม่ได้รับภาระหนักเหมือนยางผิวบน







             ข้อดีของการใช้ระบบสายพานลำเลียง มีดังนี้
  
  1. แรงกระทำสม่ำเสมอและคงที่
  2. วัสดุเคลื่อนที่อย่างต่อเนื่อง
  3. เส้นทางไม่ได้เปลี่ยนแปลง
  4. อัตราการเคลื่อนย้ายแน่นอน
  5. สามารถข้ามสิ่งกีดขวางได้
  6. จำเป็นต้องใช้การนับอย่างอัตโนมัติ การแยกจำพวกการชั่งน้ำหนัก
  7. ต้องมีการเก็บตัวเลขคงคลัง และการตรวจสอบเพื่อควบคุมการผลิต
  8. ต้องการควบคุมการไหล
  9. ขนถ่ายวัสดุที่มีการเสี่ยงต่ออันตราย
  10. ขนถ่ายวัสดุที่มีอุณหภูมิสูง และใช้ในพื้นที่ที่อันตราย


        2. รถ AGV (Auto Guiding Vehicle) 

                  รถขนส่งเคลื่อนที่อัตโนมัติ AGV  มีหลายชนิดให้เลือกตามความเหมาะสมของการใช้งานตั้งแต่ การใช้งานแบบลากจูง container ,แบบยก container จนถึงแบบรถยก (Forklift) ในลักษณะต่างๆ โดยมีระบบควบคุมเส้นทางและนำทางการขับเคลื่อน (The Vihicle Navigation & Guidance System) ด้วยการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็กที่ฝังอยู่ในพื้นผิวทางเดินรถ AGV หรือแบบควบคุมโดยการ ตรวจจับด้วยแสงเลเซอร์เพื่อให้รถ AGV สามารถเคลื่อนที่ไปตามเส้นทางที่กำหนดได้
รถ AGV แต่ละชนิดรับน้ำหนักได้ต่างกันตั้งแต่ 400-1,200 กิโลกรัม หรือมากกว่า ขึ้นอยู่กับการใช้งานแต่ละประเภท โดยมีความเร็วในการขับเคลื่อน 1.2-1.7 เมตร ต่อวินาที

รถ AGV ทุกคันจะติดตั้งระบบเลเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหวที่ประกันได้ว่ามีระดับความปลอดภัยสูงสุด โดยติดตั้งทั้งด้านหน้าและหลังของตัวรถ และแบ่งการเตือนภัยออกเป็น 2 พื้นที่ คือ พื้นที่เตือนภัย( Warning Area)และพื้นที่หยุด (Stopping Area) กล่าวคือ ถ้ามีบุคคลเดินเข้าในเขตพื้นที่เตือนภัย รถ AGV จะลดความเร็วลงจากความเร็วสูงสุด (Maximum Speed) เป็นลักษณะแบบเคลื่อนที่ช้า (Crawling Speed) และถ้าตรวจจับได้ในพื้นที่หยุด รถ AGV จะหยุดทันที โดยระยะทางของพื้นที่เตือนและพื้นที่หยุด จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระดับความเร็วของรถ AGV

ทั้งนี้แบตเตอรี่ที่ใช้เป็นแบบ Maintenace Free สามารถใช้งานได้ติดต่อกันแบบต่อเนื่องนานถึง 8-10 ชั่วโมง โดยไม่ต้องนำแบตเตอรี่ออกจากตัวรถ







     ประโยชน์ของรถ AGV
  1. ลดต้นทุนในการผลิต ลดการใช้พนักงานในการขนส่งวิตถุดิบหรือสินค้าในกระบวนการผลิต
  2. ประหยัดพื้นที่ใช้สอย ลดขนาดพื้นที่จัดเก็บสินค้า หรือพื้นที่วัตถุดิบรอการผลิต
  3. ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบสามารถปรับการใช้งานให้เข้ากับทุกกระบวนการผลิต
  4. ปลอดภัย ไร้คนขับ ลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุเนื่องจากความประมาท
  5. ทำให้งานหนักเป็นงานง่าย บรรทุกของหนักได้สูงสุด 4 ตัน

    การนำไปใช้งาน
  • ขนส่งวัตถุดิบ
ใช้แทนการขนส่งวัตถุดิบโดยใช้แรงงานคน หรือทดแทนการใช้สายพานลำเลียง
  • สถานีประกอบงานบนตัวรถ
การนำรถเอจีวีไปใช้เป็นสถานีประกอบงาน เป็นรูปแบบการนำไปใช้ที่มีประสิทธิภาพในสายงานการผลิต
  • ลำเลียงสินค้าสำเร็จรูป
ในกระบวนการส่งมอบสินค้าสำเร็จรูปย่อมต้องการ การขนส่งที่ปลอดภัยต่อสินค้าเพื่อป้องกันการเสียหาย เอจีวีเป็นคำตอบนึงที่มีศักยภาพครบทั้งเรื่องการควบคุมกระบวนการ และการส่งมอบที่ประหยัดเวลาสูงสุด






     

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เครื่องจักร NC

หุ่นยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรม