เทคโนโลยีการสื่อสาร



"โดรนส์" จัดส่งสินค้า




เทคโนโลยี drones (โดรนส์) ที่หลายๆคนหมายถึงอากาศยานไร้คนขับหรือเป็นมัลติคอปเตอร์หรือเป็นเครื่องร่อนที่บังคับโดยมนุษย์ผ่านอุปกรณ์ควบคุมหรือสมาร์ทโฟนนั้น

เราคงได้เห็นผ่านตากันมาบ้างแล้วกับการนำโดรนส์ขนาดเล็กมาเป็นอุปกรณ์ช่วยถ่ายทอดสดในมุมสูงของม็อบการเมืองในบ้านเรา ทำให้เห็นมุมมองของกล้องแปลกๆ ที่น่าสนใจไม่น้อย


ในเชิงพาณิชย์เมื่อเร็วๆนี้ อเมซอนดอทคอมยักษ์ใหญ่ทางด้านอี-คอมเมิร์ซได้เผยโฉมโดรนส์ขนาดเล็กที่ถูกเรียกว่า Amazon Prime Air เพื่อใช้ในการจัดส่งสินค้าให้ลูกค้าที่ส่ังซื้อสินค้าออนไลน์ภายในเวลาไม่เกินครึ่งชั่วโมง พร้อมกับการสาธิตวิธีการใช้งาน โดยต้องขออนุมัติจากสมาคมกำกับดูแลกิจการการบินของสหรัฐฯ (เอฟเอเอ) ก่อน และคาดหมายว่าจะเริ่มเปิดใช้บริการทางด้านพาณิชย์ได้ในปี 2015 หรือภายในเวลา 2 ปีข้างหน้า 


มีรายงานจาก The Verge ว่า “ยูพีเอส” ซึ่งเป็นบริษัทขนส่งสินค้าและไปรษณีย์เอกชนใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ ได้สนใจเทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อนำมาให้บริการในอนาคตขณะนี้อยู่ระหว่างการทดสอบและทำการประเมินผลการจัดส่งพัสดุและสินค้าในรูปแบบที่แตกต่างกัน

โดยประชาสัมพันธ์ของ “ยูพีเอส” ระบุว่า การนำเทคโนโลยีโดรนส์มาใช้งานเชิงพาณิชย์เป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก ซึ่งยูพีเอสได้มีการลงทุนทางด้านเทคโนโลยีมากที่สุดในบรรดาธุรกิจเดียวกัน มีการวางแผนในอนาคตอยู่ตลอดเวลา แต่ไม่ได้เปิดเผยในรายละเอียดของการใช้เทคโนโลยีนี้กับธุรกิจโลจิสติกแต่อย่างใด 


นายไรอัล คาโล ผู้เชี่ยวชาญทางด้านหุ่นยนต์และโดรนส์ ให้ความเห็นว่า เมื่อคุณต้องการแข่งขันในธุรกิจโลจิสติกและการจัดส่งสินค้า “โดรนส์” และหุ่นยนต์ไร้คนขับเป็นสิ่งที่จะต้องเกิดขึ้นในอนาคต   ซึ่งยูพีเอสมีหลายวิธีการในการใช้โดรนส์ที่แตกต่างกันออกไป การบริการอาจจะคล้ายคลึงกับ         “ไพร์มแอร์” ของอเมซอนดอทคอม หรืออาจจะใช้เพื่อขนย้ายสินค้าในบริเวณโกดังของตนเอง


อย่างไรก็ตาม นายคาโล มองถึงการให้บริการไพร์มแอร์ของอเมซอนดอทคอมว่า การจัดส่งสินค้าให้ผู้บริโภคในบริเวณพื้นที่อาศัยเป็นสิ่งที่ยากที่จะประสบความสำเร็จในระยะเวลาอันรวดเร็ว แต่ก็ไม่ได้ให้เหตุผลว่าทำไม แต่สำหรับยูพีเอส มองเห็นประโยชน์คือการใช้ขนสินค้าจากสนามบินหลักไปศูนย์กระจายสินค้าหรือพื้นที่ห่างไกลเพื่อเร่งการจัดส่งสินค้าจำนวนมากให้ผู้บริโภค จะช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย


ทางด้านนายโคลิน กุอิน ซีอีโอ นอร์ธอเมริกัน ผู้ผลิตโดรนส์ กล่าวว่า อาจจะต้องใช้อีก 18-24 เดือนเพื่อปรับปรุงระบบการตรวจจับและการหลีกเลี่ยงวัตถุให้ดีขึ้น เพราะการใช้งานทางด้านจีพีเอสอย่างเดียวยังไม่เพียงพอ




ข้อดี/ประโยชน์     
    
นำกล้องมาติดเพื่อถ่ายรูปจากมุมสูง
- ใช้ในการขนส่งสินค้าอย่างที่ google และ amazon กำลังพัฒนา
- ใช้โดรนฉีดปุ๋ย พ่นสารเคมี ในการเกษตร
- ใช้โดรนตรวจสภาพจราจร เก็บข้อมูลภูมิศาสตร์
- ใช้โดรนในการช่วงชีวิตผู้ประสบภัยในพื้นที่ๆผู้ช่วยชีวิตเข้าถึงยาก

ข้อเสีย/ผลกระทบ       

ความเสียหายจากการที่โดรนตก : เครื่องบินบังคับอยู่ในอากาศหลายตัวมีน้ำหนักมาก และมีโอกาศที่จะตกลงมาได้ง่าย จึงมีความเป็นไปได้ที่เครื่องบินเหล่านี้จะตกลงมากระแทกสิ่งของ หลังคา  อาคาร หรือผู้คนทำให้เกิดความเสียหาย
บกวนการทำงานหรือสร้างความเสียหาย : การบินโดรนในบริเวณต้องห้ามเป็นเรื่องที่ไม่ควรกระทำ อย่างเช่นบินโดรนในบริเวณสนามบิน หรือบริเวณสายไฟ เนื่องจากโดรนอาจไปชนกับเครื่องบิน หรือทำให้สายไฟเสียหายได้


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบขนถ่ายวัสดุอัตโนมัติ

เครื่องจักร NC

หุ่นยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรม